ผลกระทบจากการตอกเสาเข็มในดินเหนียว

เสาเข็มเป็นวัสดุที่ใช้แพร่หลายมากที่สุดในการรับน้ำหนักของอาคาร โดยเสาเข็มจะรับน้ำหนักจากฐานรากก่อน แล้วจึงค่อยถ่ายให้ดิน ซึ่งจะต่างจากฐานรากแบบแผ่ ที่ดินรับน้ำหนักจากฐากรากโดยตรง การออกแบบฐานโดยใช้เสาเข็ม ก็เพราะดินที่อยู่ติ้นรับน้ำหนักได้น้อยจึงต้องใช้เสาเข็มเป็นตัวช่วยถ่ายน้ำหนักลงไปยังดินชั้นล่างที่แข็งแรงกว่า

Thospaak

July 9, 2020

ดินเหนียวอ่อนกรุงเทพ (Bangkok clay)

ดินเหนียวกรุงเทพ (Bangkok clay) เป็นตะกอนชั้นบนที่พบในบริเวณที่ราบลุ่มภาคกลางตอนล่าง รวมถึงกรุงเทพและเขตปริมณฑล มีความหนาประมาณ 15-25 เมตร เนื่องจากเป็นดินชั้นบนสุดจึงมีส่วนเกี่ยวพันกับการดำรงชีวิตของคนในพื้นที่ราบภาคกลางตอนล่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรุงเทพและเขตปริมณฑลซึ่งมีสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่มากมาย แต่ดินเหนียวกรุงเทพกลับมีคุณสมบัติทางวิศวกรรมไม่เหมาะสมต่องานฐานรากเพราะมีความยืดหยุ่นสูง เมื่อมีน้ำหนักกดทับมากๆ จะบีบน้ำออกไปจากเนื้อดิน ทำให้เกิดการหดตัวลงมากจนทำให้ฐานรากแตกร้าวเสียหาย ดังนั้นการออกแบบของวิศวกรจึงต้องระมัดระวังต่อเรื่องนี้เป็นอย่างยิ่ง ต้องศึกษาให้เข้าใจจึงสามารถออกแบบให้เหมาะสมได้

Thospaak

June 20, 2020

เสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Spun Micro Pile)

เสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Spun Micro Pile ) เป็นเสาเข็มแบบกลมตรงกลางกลวง โครงสร้างของเสาเข็มเป็นโครงเหล็กฝังอยู่ในเนื้อคอนกรีต ผลิตโดยใช้เครื่องจักรหมุนเหวี่ยงเสาเข็มคอนกรีตในแบบหล่อด้วยความเร็วสูง ซึ่งนอกจากจะช่วยให้เนื้อคอนกรีตมีความหนาแน่นแล้ว แรงเหวี่ยงจากการหมุนจะทำให้เสาเข็มเกิดรูกลมกลวงตรงกลางด้วย ซึ่งรูกลมกลวงตรงนี้จะช่วยลดแรงสั่นสะเทือนเวลาตอกเสาเข็มด้วย

Thospaak

June 8, 2020

การทดสอบกำลังรับน้ำหนักของเสาเข็ม (Static Load Test)

การทดสอบกำลังรับน้ำหนักของเสาเข็ม (Static Load Test) หรือเรียกว่า (Pile Load Test) คือการทดสอบการรับน้ำหนักของเสาเข็มที่หน้างานจริง โดยการใส่น้ำหนักบรรทุกลงไปและตรวจวัดค่าการทรุดตัวประกอบ เอาไว้พิจารณาการรับน้ำหนักของเสาเข็มที่น้ำหนักต่างๆ เพื่อตรวจสอบกับน้ำหนักบรรทุกที่กำหนดไว้จากรายการคำนวณด้วยว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร การทดสอบแบบนี้เป็นการทดสอบที่มีความน่าเชื่อถือ เพราะเป็นการทดสอบที่หน้างานจริง ตัดตัวแปรหลายๆ ตัวที่อาจก่อให้เกิดความคลาดเคลื่อนจากการทดสอบออกไป แต่ก็มีค่าใช้จ่ายในการทดสอบสูง และต้องใช้เวลาในการทดสอบนานกว่าวิธีอื่น

Thospaak

June 8, 2020

คอนกรีตผสมเสร็จ (Ready Mix Concrete)

คอนกรีตผสมเสร็จ (Ready Mix Concrete) เป็นคอนกรีตที่ผสมเสร็จเรียบร้อยจากโรงงาน และนำใส่รถเพื่อเตรียมจัดส่งให้หน่วยงานก่อสร้าง ช่วยทำให้งานเทคอนกรีตทำได้ง่ายขึ้น ช่วยลดแรงงานที่ใช้ในไซต์งานก่อสร้างลง เป็นคอนกรีตที่เข้ามาทดแทนการผสมคอนกรีตด้วยโม่เล็ก ที่ผู้รับเหมาจะต้องเริ่มตั้งแต่การสั่งซื้อ หิน ทราย ปูนซีเมนต์ และน้ำยาผสมคอนกรีตมา แล้วจึงจัดการหาเครื่องผสมปูนและทีมงาน แต่ในปัจจุบันผู้รับเหมาเปลี่ยนมาใช้คอนกรีตผสมเสร็จกันแทบทั้งหมดแล้ว

Thospaak

November 14, 2019

การทดสอบหาค่ายุบตัวของคอนกรีต (Slump Test)

ในการเทคอนกรีตจำเป็นต้องทำการทดสอบการยุบตัวของคอนกรีต (Slump Test) ทุกครั้งที่เปลี่ยนอัตราส่วนผสมของน้ำกับปูนซีเมนต์ หรือเมื่อผู้ควบคุมงานเห็นว่าคอนกรีตข้นหรือเหลวเกินไป โดยวิธีทดสอบการยุบตัวของคอนกรีต ให้เป็นไปตาม มทช.(ท) 103: มาตรฐานการทดสอบการยุบตัวของคอนกรีต

Thospaak

September 26, 2019

ฐานราก (Footing) แต่ชนิด แตกต่างกันยังไง

ฐานราก หรือที่ช่างนิยมเรียกกันว่า “ฟุตติ้ง” คือโครงสร้างส่วนที่อยู่ใต้ผิวดิน ทำหน้าที่แบกรับน้ำหนักจากเสาแล้วถ่ายลงสู่ดิน การใช้ฐานรากแบบคอนกรีตเสริมเหล็ก จะก่อสร้างได้ง่าย รวดเร็ว และมีความแข็งแรง ทนทานต่อสภาพดินฟ้าอากาศ

Thospaak

September 13, 2019

Last 10 Blow กับ Blow Count เทคนิคการตอกเสาเข็มที่แตกต่างกัน

ในการสร้างบ้านและอาคารนั้น การก่อสร้างมักจะใช้ฐานรากเสาเข็มเพื่อรับน้ำหนักของโครงสร้างทั้งหมด โดยทั่วไปจะตอกเสาเข็มให้ปลายของเสาเข็มลงลึกไปจนถึงชั้นดินเหนียวแข็งหรือชั้นดินดาลข้างล่าง เพื่อให้ส่วนปลายของเสาเข็มเป็นตัวรับน้ำหนัก (End Bearing) ในโซนกรุงเทพฯ และปริมณฑล จะมีความลึกอยู่ที่ประมาณ 21 เมตร โดยที่ดินในชั้นนี้มีคุณสมบัติพอที่จะสามารถรับน้ำหนักของตัวบ้านหรืออาคารที่สูงไม่เกิน 5 ชั้นได้

Thospaak

September 12, 2019

การทดสอบการรับน้ำหนักของเสาเข็ม (Dynamic Load Test)

การทดสอบการรับน้ำหนักของเสาเข็ม (Dynamic Load Test) เป็นการทดสอบเพื่อประเมินการรับน้ำหนักของเสาเข็ม โดยใช้วิธีการวัดค่าแรง (Force) และความเร็ว (Velocity) จากสัญญาณสะท้อนคลื่นความเค้น (Stress Wave) ซึ่งเกิดจากการปล่อยตุ้มน้ำหนักให้กระแทกลงบนหัวเสาเข็ม แล้วใช้ผลตอบสนองของเสาเข็มที่วัดได้เป็นข้อมูลป้อนเข้าเครื่องวิเคราะห์ข้อมูล Pile Driving Analyzer

Thospaak

September 12, 2019

ลูกปูน (Spacer)

ลูกปูน (Spacer) มีหน้าที่ช่วยหนุนเหล็กเสริมเพื่อให้มีระยะหุ้มของคอนกรีต (Concrete Covering) ที่ต้องการ ทำให้คอนกรีตสามารถรับแรงอัดตามที่วิศวกรโครงสร้างได้ออกแบบไว้ และเพื่อไม่ให้เหล็กเสริมติดกับไม้แบบเวลาหล่อคอนกรีต ซึ่งหากไม่มีลูกปูนหนุนเหล็กเสริม เนื้อปูนจะบางทำให้ชิ้นส่วนโครงสร้างที่หล่อนั้นมีประสิทธิภาพในการรับแรงที่น้อย เนื่องจากเนื้อเหล็กอยู่ใกล้ผิวคอนกรีตจึงมีโอกาสสัมผัสความชื้นและเกิดสนิมได้ง่าย อาจทำให้โครงสร้างบริเวณดังกล่าวแตกร้าว และอาคารทรุดในเวลาต่อมา

Thospaak

September 11, 2019
Message us