Gallery

งานรีโนเวทห้างสรรพสินค้า โซนทางเข้าด้านหน้าห้างเดอะมอลล์ งามวงศ์วาน

งานตอกเสาเข็มไมโครไพล์ เพื่อใช้เป็นฐานรากสำหรับการต่อเติมพื้นที่โซนทางเข้าด้านหน้าห้างเดอะมอลล์ งามวงศ์วาน (The Mall Ngamwongwan) ซึ่งเป็นจุดที่รับน้ำหนักเยอะจำเป็นต้องใช้เสาเข็มที่คุณภาพสูงและมีความแข็งแรง สามารถรับน้ำหนักโครงสร้างอาคารได้มาก ทางผู้รับเหมาะจึงเลือกใช้เสาเข็มไมโครไพล์ หน้า 30 ซม. เพราะสามารถนำปั้นจั้นที่ออกแบบขึ้นมาสำหรับการเข้าไปตอกในพื้นที่แคบโดยเฉพาะ

Thospaak

February 4, 2020

งานตอกเสาเข็มต่อเติมโรงงานอุตสาหกรรม หน่วยงานไฮกรีตโปรดักส์

งานตอกเสาเข็มไมโครไพล์ ต่อเติมภายในโรงงานอุตสาหกรรม หน่วยงานไฮกรีตโปรดักส์ อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จุดอยู่เติมอยู่ภายในโรงงานจึงต้องใช้ปั้นจั่นที่สามารถเข้าทำงานในที่แบบนี้ได้ และใช้เสาเข็มไมโครไพล์แบบกลม สามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ดีกว่าเสาเข็มแบบอื่นที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเท่ากัน ซึ่งมีความยาวท่อนละ 1.5 เมตร สามารถนำมาต่อกันแล้วตอกจนถึงชั้นดินดาลได้ 

Thospaak

January 3, 2020

คอนกรีตผสมเสร็จ (Ready Mix Concrete)

คอนกรีตผสมเสร็จ (Ready Mix Concrete) เป็นคอนกรีตที่ผสมเสร็จเรียบร้อยจากโรงงาน และนำใส่รถเพื่อเตรียมจัดส่งให้หน่วยงานก่อสร้าง ช่วยทำให้งานเทคอนกรีตทำได้ง่ายขึ้น ช่วยลดแรงงานที่ใช้ในไซต์งานก่อสร้างลง เป็นคอนกรีตที่เข้ามาทดแทนการผสมคอนกรีตด้วยโม่เล็ก ที่ผู้รับเหมาจะต้องเริ่มตั้งแต่การสั่งซื้อ หิน ทราย ปูนซีเมนต์ และน้ำยาผสมคอนกรีตมา แล้วจึงจัดการหาเครื่องผสมปูนและทีมงาน แต่ในปัจจุบันผู้รับเหมาเปลี่ยนมาใช้คอนกรีตผสมเสร็จกันแทบทั้งหมดแล้ว

Thospaak

November 14, 2019

งานตอกเสาเข็มไมโครไพล์ ทำฐานรากต่อเติมอาคารเรียน โรงเรียนโชคชัย ลาดพร้าว

ตัวอย่างผลงานการตอกเสาเข็มไมโครไพล์ ทำฐานรากรับน้ำส่วนต่อเติมอาคารเรียน ของโรงเรียนโชคชัย ลาดพร้าว เนื่องจากพื้นที่ในโซนกรุงเทพฯ และปริมณฑล เป็นโซนดินเหนี่ยวอ่อน ดังนั้งการจะทำงานก่อสร้างจึงต้องทำฐานรากเสาเข็ม โดยตอกเสาเข็มให้ลึกไปถึงชั้นดินดาน เพื่อป้องกันโครงสร้างอาคารทรุดตัวในภายหลัง งานนี้เลือกใช้เสาเข็มไมโครไพล์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 25 เซนติเมตร สามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 25-35 ตัน/ต้น

Thospaak

September 26, 2019

การทดสอบหาค่ายุบตัวของคอนกรีต (Slump Test)

ในการเทคอนกรีตจำเป็นต้องทำการทดสอบการยุบตัวของคอนกรีต (Slump Test) ทุกครั้งที่เปลี่ยนอัตราส่วนผสมของน้ำกับปูนซีเมนต์ หรือเมื่อผู้ควบคุมงานเห็นว่าคอนกรีตข้นหรือเหลวเกินไป โดยวิธีทดสอบการยุบตัวของคอนกรีต ให้เป็นไปตาม มทช.(ท) 103: มาตรฐานการทดสอบการยุบตัวของคอนกรีต

Thospaak

September 26, 2019

ฐานราก (Footing) แต่ชนิด แตกต่างกันยังไง

ฐานราก หรือที่ช่างนิยมเรียกกันว่า “ฟุตติ้ง” คือโครงสร้างส่วนที่อยู่ใต้ผิวดิน ทำหน้าที่แบกรับน้ำหนักจากเสาแล้วถ่ายลงสู่ดิน การใช้ฐานรากแบบคอนกรีตเสริมเหล็ก จะก่อสร้างได้ง่าย รวดเร็ว และมีความแข็งแรง ทนทานต่อสภาพดินฟ้าอากาศ

Thospaak

September 13, 2019

Last 10 Blow กับ Blow Count เทคนิคการตอกเสาเข็มที่แตกต่างกัน

ในการสร้างบ้านและอาคารนั้น การก่อสร้างมักจะใช้ฐานรากเสาเข็มเพื่อรับน้ำหนักของโครงสร้างทั้งหมด โดยทั่วไปจะตอกเสาเข็มให้ปลายของเสาเข็มลงลึกไปจนถึงชั้นดินเหนียวแข็งหรือชั้นดินดาลข้างล่าง เพื่อให้ส่วนปลายของเสาเข็มเป็นตัวรับน้ำหนัก (End Bearing) ในโซนกรุงเทพฯ และปริมณฑล จะมีความลึกอยู่ที่ประมาณ 21 เมตร โดยที่ดินในชั้นนี้มีคุณสมบัติพอที่จะสามารถรับน้ำหนักของตัวบ้านหรืออาคารที่สูงไม่เกิน 5 ชั้นได้

Thospaak

September 12, 2019

การทดสอบการรับน้ำหนักของเสาเข็ม (Dynamic Load Test)

การทดสอบการรับน้ำหนักของเสาเข็ม (Dynamic Load Test) เป็นการทดสอบเพื่อประเมินการรับน้ำหนักของเสาเข็ม โดยใช้วิธีการวัดค่าแรง (Force) และความเร็ว (Velocity) จากสัญญาณสะท้อนคลื่นความเค้น (Stress Wave) ซึ่งเกิดจากการปล่อยตุ้มน้ำหนักให้กระแทกลงบนหัวเสาเข็ม แล้วใช้ผลตอบสนองของเสาเข็มที่วัดได้เป็นข้อมูลป้อนเข้าเครื่องวิเคราะห์ข้อมูล Pile Driving Analyzer

Thospaak

September 12, 2019

ลูกปูน (Spacer)

ลูกปูน (Spacer) มีหน้าที่ช่วยหนุนเหล็กเสริมเพื่อให้มีระยะหุ้มของคอนกรีต (Concrete Covering) ที่ต้องการ ทำให้คอนกรีตสามารถรับแรงอัดตามที่วิศวกรโครงสร้างได้ออกแบบไว้ และเพื่อไม่ให้เหล็กเสริมติดกับไม้แบบเวลาหล่อคอนกรีต ซึ่งหากไม่มีลูกปูนหนุนเหล็กเสริม เนื้อปูนจะบางทำให้ชิ้นส่วนโครงสร้างที่หล่อนั้นมีประสิทธิภาพในการรับแรงที่น้อย เนื่องจากเนื้อเหล็กอยู่ใกล้ผิวคอนกรีตจึงมีโอกาสสัมผัสความชื้นและเกิดสนิมได้ง่าย อาจทำให้โครงสร้างบริเวณดังกล่าวแตกร้าว และอาคารทรุดในเวลาต่อมา

Thospaak

September 11, 2019

ระยะหุ้มของคอนกรีต (Concrete Covering)

ระยะหุ้มของคอนกรีต (Concrete Covering) เป็นระยะหุ้มของคอนกรีตกับเหล็กเสริมมีระยะหุ้มที่เพียงพอ เพื่อให้คอนกรีตมีการรับกำลังอัดตามที่วิศวกรโครงสร้างได้ออกแบบเอาไว้ และไม่ให้เหล็กเสริมได้สัมผัสกับเนื้อผิวอากาศหรือน้ำที่ขังอยู่รอบโครงสร้างนั้นโดยตรง ซึ่งจะมีผลทำให้เหล็กเกิดสนิมจนส่งผลกระทบต่อโครงสร้างทำให้มีอายุการใช้งานที่สั้นลง

Thospaak

September 10, 2019
1 2 3 6
Message us