Last 10 Blow กับ Blow Count เทคนิคการตอกเสาเข็มที่แตกต่างกัน

ในการสร้างบ้านและอาคารนั้น การก่อสร้างมักจะใช้ฐานรากเสาเข็มเพื่อรับน้ำหนักของโครงสร้างทั้งหมด โดยทั่วไปจะตอกเสาเข็มให้ปลายของเสาเข็มลงลึกไปจนถึงชั้นดินเหนียวแข็งหรือชั้นดินดาลข้างล่าง เพื่อให้ส่วนปลายของเสาเข็มเป็นตัวรับน้ำหนัก (End Bearing) ในโซนกรุงเทพฯ และปริมณฑล จะมีความลึกอยู่ที่ประมาณ 21 เมตร โดยที่ดินในชั้นนี้มีคุณสมบัติพอที่จะสามารถรับน้ำหนักของตัวบ้านหรืออาคารที่สูงไม่เกิน 5 ชั้นได้

เทคนิดการตอกเสาเข็มด้วยวิธี Last 10 Blow
เทคนิคการตอกเสาเข็มด้วยวิธี Last 10 Blow
ชั้นดินเหนียวอ่อนกรุงเทพ
การใช้ฐานรากเสาเข็มในชั้นดิน Soft Bangkok Clay
(รูปจากศูนย์วิจัยและพัฒนาวิศวกรรมปฐพีและฐานราก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ http://www.gerd.eng.ku.ac.th/Cai/Ch01/ch012_title.htm)

แต่ปัญหาจะเจอก็คือ ในแต่ละพื้นที่ชั้นดินเหนียวแข็งอยู่ลึกไม่เท่ากัน แล้วเราจะรู้ได้ยังไงว่าปลายของเสาเข็มที่ตอกลงไปถึงชั้นดินเหนียวแข็งแล้ว ตอบแบบง่ายๆ ก็คือ ตอกไปเรื่อยๆ จนกว่าจะตอกไม่ลงอีก ซึ่งเราสามารถเช็คได้จากจำนวนครั้งที่ปล่อยลูกตุ้มว่าทำให้เสาเข็มจมลงเท่าไหร่นั่นเอง โดยทั่วไปเรานิยมใช้กันอยู่ 2 เทคนิค คือ

1. Blow Count

Blow Count คือ จำนวนครั้งของการยกตุ้มตอกที่ทำให้เสาเข็มจมลงไปในดิน 1 ฟุต หรือ 30 เซนติเมตร (ยิ่งจำนวนครั้งของการยกตุ้มมีเยอะขึ้นแสดงว่าปลายเสาเข็มเริ่มลงไปถึงชั้นดินแข็งแล้ว ถ้าหากได้จำนวนตามที่กำหนดไว้ เราจะเริ่มใช้เทคนิค Last 10 Blow ต่อไป)

2. Last 10 Blow

Last 10 Blow เป็นเทคนิคที่นิยมใช้กันมากที่สุดในการตรวจสอบการจมของเสาเข็ม จะทำเมื่อเริ่มรู้สึกว่าตอกเสาเข็มไม่จมแล้ว จะใช้การขีดเส้นแนวนอนที่เสาเข็ม 1 เส้น ต่อการปล่อยลูกตุ้ม 10 ครั้ง แล้วดูระยะห่างของเส้นที่ขีด เมื่อเส้นอยู่ชิดกันจนไม่มีระยะห่างแล้วหมายความว่าปลายของเสาเข็มไปอยู่ที่ชั้นดินเหนียวแข็งแล้ว จะหยุดการตอกเสาเข็มต้นนั้น ไม่เช่นนั้นอาจจะทำให้เกิดความเสียหายต่อเสาเข็มได้ หรือขึ้นอยู่กับทางวิศวกรกำหนดให้อีกที

เทคนิดการตอกเสาเข็มด้วยวิธี Last 10 Blow
รอยขีดบนเสาเข็มจากเทคการทำ Last 10 Blow
Message us